Saturday, August 17, 2019

เกาหลีใต้ ลอกเรียน (ลอกแล้วเรียน) จนได้ดี

เกาหลีใต้ รวยมาได้ยังไง?
จากหนังสือเรื่อง Imitation to Innovation, The Dynamics of Korea’s Technological Learning
คำตอบคือ รวยมาได้จากการ ลอกเรียน (ลอกเลียน + ต่อยอด)

การสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ไม่จำเป็นต้องมาจากการมันสมองของเราทั้งหมด
กวีที่ไม่บรรลุ...ลอกเลียน
กวีที่บรรลุ...ขโมย
กวีชั้นแย่...ทำงานผู้อื่นเสียโฉม
กวีชั้นยอด...ทำงานผู้อื่นดีขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้แตกต่างออกไป
ไม่มีอะไรเกิดขึ้นใหม่ในโลกเองทั้งหมด บางส่วนต้องอาศัยการลอกเลียน ต่อยอด (ลอกแบบมีศิลปะ ต่อยอดจากของเดิม = ลอกเรียน)

ประเทศมหาอำนาจล้วน ‘ลอกเลียน’ และ ‘ลอกเรียน’ มาแล้วทั้งสิ้น

อเมริกาที่บอกคนอื่นทั้งโลกว่า ห้ามละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่...
ปี 1790 กฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกา คุ้มครองเฉพาะงานของคนในสหรัฐ แปลว่า งานของต่างประเทศตนเองสามารถลอกได้
อเมริกาไม่ยอมเข้าอนุสัญญาเบิร์น ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องลิขสิทธิ์ ไม่ยอมเข้าร่วมจนถึงปี 1989 เพื่อลอกหนังสือยุโรป เช่น นวนิยายดี ๆ ของ Charles Dickens ลอกมาแล้วตีพิมพ์ให้อ่านในราคาถูก

ญี่ปุ่น ไม่คุ้มครองสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ จนถึงปี 1976 พูดง่าย ๆ คือ copy คนอื่น ดัดแปลง จนตัวเองเก่ง แล้วจึงทำให้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเข้มงวดขึ้น
เช่น Sony ลอกแนวคิดของสหรัฐ เอามาผลิตวิทยุทรานซิสเตอร์

เกาหลี
ปี 1976 Samsung ต้องการผลิตเตาอบไมโครเวฟ แต่ไม่มีใครให้เทคโนโลยี จึงไปซื้อไมโครเวฟของคนอื่นมา วิศวกรทำงานหนัก ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า สุดท้ายลอกเรียนจนสำเร็จ
ญี่ปุ่นและสหรัฐเห็นว่าเริ่มเก่ง จึงถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มเติมให้
ปี 1994 Samsung กลายเป็นเบอร์สองของโลกเรื่องการผลิตเตาอบไมโครเวฟ

ปี 1986 Hyundai อยากผลิตรถเก๋งขนาดเล็กหรือ compact car แต่ญี่ปุ่นไม่ให้เทคโนโลยี จึงออกแบบรถโดยลอกเรียนรถญี่ปุ่น ลองเปลี่ยนมาหลายแบบ กว่าจะผลิตเครื่องยนต์ได้
ปี 1995 Hyundai สามารถผลิตเครื่องยนต์คุณภาพสู้ญี่ปุ่นได้

สรุปคือ วิธีการลอกเรียนให้สำเร็จ
1. ยืนหยัด ไม่ยอมแพ้
2. กฎหมายยอมให้ทำ

No comments:

Post a Comment